สมัคร facebook | สมัคร Hotmail | สมัคร Gmail
Saturday, 22 March 2025

รู้ประโยชน์ธงโภชนาการ คืออะไร และเข้าใจถึงสัดส่วนการทานอย่างถูกต้อง

03 May 2024
715

อาหาร คือ ส่วนสำคัญของร่างกาย จึงเกิดเป็นการรับประทานอาหาร 5 หมู่ ที่จะต้องตรงตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วนที่สุด จุดนี้เองจึงเกิดเป็นธงโภชนาการ ที่จะเป็นตัวช่วยให้คุณตรวจสอบอาหารที่รับประทานว่ามีประโยชน์ต่อตัวคุณจริงหรือไม่ ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญ ที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้และทำความเข้าใจต่ออาหารหลากหลายประเภท พร้อมการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณจริง ๆ

รู้ประโยชน์ธงโภชนาการ คืออะไร และเข้าใจถึงสัดส่วนการทานอย่างถูกต้อง

ทำความรู้จักกับธงโภชนาการ ตารางการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การจัดทำธงโภชนาการ จะมาในรูปแบบของสามเหลี่ยมหัวคว่ำที่มีลักษณะคล้ายธง และจะตีตารางภายในสามเหลี่ยม เพื่ออธิบายถึงโภชนบัญญัติ 9 ประการ ซึ่งคุณสามารถมาสำรวจดูได้ว่าการรับประทานอาหาร ตามตารางธงสามเหลี่ยมนี้ จะถูกต้องและครบถ้วน ตามสัดส่วนที่ถูกระบุไว้หรือไม่ โดยภายในธงโภชนาการจะระบุสัดส่วนปริมาณอาหาร และความหลากหลายที่ควรรับประทานใน 1 มื้อ พร้อมการแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนอาหารที่สำคัญในแต่ละกลุ่ม เป็นภาพออกมาชัดเจน จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณรับประทานอาหารได้อร่อยและห่างไกลโรค ถูกทำขึ้นเพื่อให้คนไทยได้ทานอาหารอย่างเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดปัญหาโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไตในอนาคตได้ดี

ธงโภชนาการ เกิดขึ้นได้อย่างไร

การเกิดขึ้นของธงโภชนาการ คือ การจัดทำตารางสำหรับการระบุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ขององค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติ กับองค์กรอนามัยโลก ในช่วงปี 2535-2539 ซึ่งเกิดจากการเล็งเห็นถึงภาวะขาดสารอาหาร ของหลากหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบให้ประชากรภายในประเทศที่ยากจน และประเทศที่มีการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง เกิดปัญหาทั้งสภาวะขาดสารอาหาร และการเกิดโรคต่าง ๆ จากอาหารเป็นจำนวนมาก และเกิดเป็นธงโภชนาการที่เน้นเรื่องอาหารมีประโยชน์ หรือที่ถูกเรียกว่า FBDG ที่เป็นยุทธศาสตร์และแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะขาดสารอาหารในแต่ละประเทศ โดยส่วนใหญ่แล้ว ประเทศทางแถบยุโรปจะมีการกำหนด FBDG ไว้ดังนี้

  • การรับประทานอาหาร ต้องได้สารอาหารครบถ้วน และมีความหลากหลาย
  • การรับประทานอาหาร ควรมีทั้งข้าว พาสต้า และมันฝรั่ง
  • การรับประทานผัก ผลไม้ ต้องมีเป็นประจำในทุกมื้ออาหาร
  • อาหารที่ดีต้องมีประโยชน์ ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และจะต้องมีการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • การรับประทานไขมัน ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม
  • เลี่ยงอาหารที่มีเกลือ และโซเดียมจำนวนมาก
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน
  • การทานเนื้อสัตว์ ควรเน้นไปที่เนื้อปลา และเนื้อที่ไม่มีไขมัน รวมไปถึงการรับโปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ
  • เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการดื่มนมและใช้ผลิตภัณฑ์จากนมสดเป็นส่วนใหญ่
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่อง หรือมากจนเกินไป
  • การรับประทานอาหารควรเป็นแบบปรุงสุก และมีความสะอาดเสมอ
  • หลังคลอดบุตร ทารกควรจะต้องได้ดื่มนมแม่จากเต้าเท่านั้น

การกำเนิดของธงโภชนาการ สามารถตีได้ว่าเป็นแนวทางของการลดปัญหาสุขภาพ ในด้านการรับประทานอาหาร และช่วยเสริมความเข้าใจของประชากรทั่วโลก ในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยภายในธงโภชนาการจะมีการระบุอาหารแต่ละประเภท ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ รวมไปถึงการรับประทานอย่างเหมาะสม เพื่อเน้นผลการดูแลสุขภาพร่างกายแบบยืนยาว

การใช้งานธงโชนาการ มีความสำคัญอย่างไร

ถ้าการเดินทางจำเป็นต้องมีแผนที่ การรับประทานอาหารก็ควรที่จะต้องมีธงโภชนาการ เพื่อเป็นแผนที่นำทางด้วยเช่นกัน  มีความสำคัญในด้านการนำคุณไปรับประทานอาหารอย่างเป็นประโยชน์ เหมาะสม และเพียงพอต่อร่างกายอย่างแท้จริง  ให้ประโยชน์ในการแนะนำอาหารแต่ละประเภท พร้อมการช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ในด้านการรับประทานอาหาร  และเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ซึ่งสามารถทำให้ทั้งตัวคุณ ครอบครัว และคนรู้จักที่คุณมีการแนะนำให้ดูธงโภชนาการ ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และให้คุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

4 ชั้นในธงโชนาการ มีอะไรบ้าง?

รู้ประโยชน์ธงโภชนาการ คืออะไร และเข้าใจถึงสัดส่วนการทานอย่างถูกต้อง

ธงโชนาการเป็นธงทรงสามเหลี่ยมที่มีฐานอยู่ด้านบน และส่วนปลายอยู่ด้านล่าง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชั้น และมี 6 ห้อง  โดยฐานบนของพีระมิด เน้นการบริโภคในปริมาณมาก ส่วนปลายด้านล่างของพีระมิด เน้นการบริโภคในปริมาณน้อย ซึ่งทั้ง 4 ชั้น เรียงจากฐานบนลงล่าง ดังนี้

1.คาร์โบไฮเดรต

สำหรับชั้นที่ 1 จะเป็นการระบุของชั้นคาร์โบไฮเดรต ที่ถือเป็นพลังงานหลักของร่างกาย โดยสามารถรับประทานเป็นข้าว มัน เผือก ธัญพืช ขนมปัง และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแป้งทุกชนิด โดยส่วนใหญ่แล้วอาหารในชั้นนี้ จะเป็นอาหารมื้อหลัก  ซึ่งถ้าเป็นการรับประทานข้าว ควรอยู่ที่ประมาณ 8-12 ทัพพีต่อวันเท่านั้น

2.วิตามิน และแร่ธาตุ

ภายในชั้นที่ 2 จะเป็นการรวมหมู่ของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นเป็นผักและผลไม้ ที่มีรสชาติไม่หวานมาก และมีไฟเบอร์สูง เพื่อการรักษาสุขภาพกายและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงลำไส้ ซึ่งจะมีการแบ่งภายในธงโภชนาการออกเป็น 2 ฝั่ง ซึ่งภายในฝั่งซ้ายจะเป็นผักที่มีสัดส่วนมากกว่าฝั่งขวาที่เป็นผลไม้ ซึ่งการรับประทานอาหารชั้นนี้ ควรอยู่ที่ประมาณ 3-5 ส่วนต่อวัน หรือผักและผลไม้ ประมาณ 4-6 ทัพพีต่อวัน

3.โปรตีน

ขั้นที่ 3 จะเป็นส่วนของโปรตีนที่ได้มาจากเนื้อสัตว์ และธัญพืชต่าง ๆ ภายในธงโภชนาการจะมีแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งเช่นกัน  โดยในฝั่งขวาจะเป็นกลุ่มของเนื้อสัตว์กับธัญพืช และฝั่งซ้ายจะเป็นกลุ่มของผลิตภัณฑ์นม ซึ่งควรจะต้องอยู่ในสัดส่วนโปรตีนธัญพืชและเนื้อสัตว์ที่ 6-12 ช้อนต่อวัน ส่วนของการดื่มนมควรอยู่ที่ประมาณ 1-2 แก้วต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกาย

4.ไขมัน

กลุ่มของชั้นที่ 4 จะเป็นไขมันและการรับประทานอาหารรสจัด ที่มีทั้งเกลือและน้ำตาลที่เป็นส่วนสำคัญ อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานกับโรคไตได้

ธงโภชนาการที่เหมาะกับคนในแต่ละช่วงวัย มีอะไรบ้าง

1.วัยรุ่น

กลุ่มของวัยรุ่น จะแบ่งออกเป็นเด็กผู้ชายในช่วงวัย 14-19 ปี และเด็กผู้หญิงในช่วงวัย 12-17 ปี ร่างกายของวัยนี้กำลังเจริญเติบโต จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างมีประโยชน์ คือ คาร์โบไฮเดรตประมาณ 10 ทัพพีต่อวัน, ผักประมาณ 5 ทัพพีต่อวัน, ผลไม้ประมาณ 4 ส่วนต่อวัน, โปรตีนจากเนื้อสัตว์ประมาณ 9 ช้อนโต๊ะ, นม 1 แก้วต่อวัน และไขมันไม่เกินกว่า 65 กรัมต่อวัน

2.วัยผู้ใหญ่

กลุ่มของวัยผู้ใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 20 – 60 ปี ร่างกายจำเป็นที่จะต้องใช้สารอาหารหลายประเภท เพราะมีการใช้กำลังและสมองในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ จึงควรรับประทานคาร์โบไฮเดรต 12 ทัพพีต่อวัน, ผัก 6 ทัพพีต่อวัน, ผลไม้ประมาณ 5 ส่วนต่อวัน และการรับประทานไขมันควรไม่เกินกว่า 1 ช้อนชา หรือ 2,300 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น

3.วัยผู้สูงอายุ

สำหรับวัยผู้สูงอายุ คือ ช่วง 60 ปีขึ้นไป จำเป็นที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และมีประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น เพื่อทำให้สุขภาพร่างกายยังคงความแข็งแรงและยืดหยุ่นไว้ได้ โดยอาหารที่เหมาะสม คือ คาร์โบไฮเดรต ไม่เกินไปกว่า 8 ทัพพีต่อวัน การจัดผักและผลไม้ ควรอยู่ที่ประมาณ 4-6 ทัพพีต่อวัน หรือ 3-4 ส่วนต่อวัน การรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ควรเกินกว่า 6 ช้อนโต๊ะ และดื่มนมสด 1 แก้ว ส่วนของไขมัน เกลือ และน้ำตาล ไม่ควรเกินกว่า 6 ช้อนชาต่อวัน

การรับประทานอาหารเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นไม่ใช่แค่ความอร่อย แต่จำเป็นต้องใส่ใจต่อสารอาหาร และความปลอดภัยด้วยเช่นกัน ธงโภชนาการจึงเป็นหนึ่งในตัวช่วย ที่จะทำให้คุณได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะต่อช่วงวัย เพื่อทำให้เกิดผลดีที่สุดต่อร่างกายของคุณ